หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

มารยาทในสังคมการทำงาน

โกเอาบทความนี้มาจากบนเน็ทนี่แหละครับ ส่งกันไปส่งกันมา แต่ไม่ได้บันทึกเอาไว้ว่าใครเขียน
ขอขอบคุณผู้เขียนเอาไว้ ณ ที่นี้ด้วยก็แล้วกันนะครับ
โกใช้ประโยชน์จากบทความนี้ ในการแนะนำพนักงานใหม่และหัวหน้างานในโรงแรมที่โกทำงานอยู่
เอามาบันทึกไว้ในนี้ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นที่ยังไม่เคยได้อ่านบ้าง

ลองอ่านดูนะครับ

การสมัครงาน
1. มีบุคลิกภาพที่ดี เมื่อพบกันครั้งแรก
2. ต้องให้เกียรติผู้ร่วมงาน ไม่ว่าจะมีอายุน้อยกว่าหรือไม่
3. ต้องอ่านเอกสารให้ดี ก่อนจะตั้งคำถาม
4. ไม่ร้องขอการปฎิบัติที่พิเศษกว่าคนอื่น ๆ
5. มั่นใจว่าทราบถึงงานที่จะได้ทำ
6. ไม่ถามถึงค่าจ้าง เว้นแต่ผู้สัมภาษณ์เอ่ยถึง

การสัมภาษณ์งาน
1. ต้องไปก่อนเวลานัดอย่างน้อย 15 นาที
2. แต่งกายสุภาพถูกต้องตามกาลเทศะ
3. ไม่มีอาการป่วย
4. ตาต้องมองผู้สัมภาษณ์ตลอดเวลา
5. ใช้คำพูดที่ฟังเข้าใจง่าย
6. เตรียมตัวมาตอบคำถาม
7. ไม่ขี้อาย ต้องกล้าแสดงออก
8. ไม่เสแสร้ง มีความจริงใจ
9. ควบคุมมือให้ดี
10. บอกค่าจ้างที่คาดว่าจะได้ โดยไม่หลอกตัวเอง
11. จำชื่อผู้สัมภาษณ์และควรขอนามบัตรไว้
12. เก็บเก้าอี้ที่นั่งเข้าที่เดิม เป็นที่น่าสังเกตว่าคนไทยมักไม่เลื่อนเก้าอี้กลับเข้าที่เดิม หลังจากลุกขึ้นจากเก้าอี้
****ลองสังเกตดูนะคะ เราไม่ได้รับการสอนในเรื่องนี้มา****

วันแรกของการทำงาน

1. ไม่ไปทำงานสาย
2. ทักทายทุกคน
3. ทานอาหารเที่ยงกับเพื่อนร่วมงาน เพราะจะได้ทราบความเป็นไปขององค์กร เพื่อนร่วมงาน ฯลฯ
4. อ่าน และพร้อมที่จะถาม
5. นำงานที่ทำเสร็จแล้วให้หัวหน้าดู
6. ของานมาทำโดยไม่ต้องรอ

ชีวิตการทำงานต้องเก็บความลับเรื่องเงินเดือนไว้ อันนี้เป็นมารยาทที่คนไทยไม่ค่อยมีอีกเหมือนกัน
เพราะความอยากรู้อยากเห็นที่มักจะถามเรื่องเงินเดือนที่ได้รับ ที่สำคัญคือต้องขออนุญาตทุกครั้งที่ลา ขอความช่วยเหลือ
ขอความเป็นส่วนตัว ขอใช้ทรัพย์สินของผู้ร่วมงาน และขอใช้สิทธ์ที่ไม่ได้รับอนุญาต ถ้าทำผิดต้องขอโทษ
ต้องมีศิลปะในการใช้ภาษาอย่างดี มีมารยาทและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน คิดบวก พูดบวกและทำบวก
มีจุดยืน มีความรับผิดชอบ ค้นหาสาเหตุของความผิดพลาด รักษาความลับ ศึกษาเจ้านาย เรียนรู้ผู้อื่นและเข้าใจเจ้านายของคุณ
ต้องรู้ความผิดพลาดและข้อบกพร่องของคุณเป็นคนแรก พัฒนาตนเองโดยไม่คำนึงถึงผลตอบแทน

จงหลีกเลี่บง
1. การขอให้ผู้อื่นทำงานแทนโดยไม่ได้แจ้งหัวหน้า
2. การตำหนิผู้อื่นโดยตรง
3. การนินทาหรือแทงคนข้างหลัง
4. การทำเป็นเข้าใจ แต่ไม่เข้าใจ
5. การหัวเราะในความผิดพลาดของผู้อื่น
6. การทำตนเป็นผู้หวังดีแต่ประสงค์ร้าย
7. การเป็นคนขี้ขลาด
8. การมีอคติ

มารยาทในการรับโทรศัพท์
1. รับเมื่อมีเสียงเรียกภายใน 3 ครั้ง
2. ยิ้มก่อนรับโทรศัพท์
3. กล่าวคำทักทาย บอกชื่อผู้รับและสถานที่
4. กรณีรับฝากข้อความ ต้องถามชื่อผู้โทรฯมา บันทึกชื่อ ข้อความ วันที่และเวลา
5. กล่าวคำสวัสดี
6. รอให้ผู้โทรฯมาวางสายก่อนเสมอ

การเปลี่ยนงาน
1. อย่าเลือกงานที่เรารัก ให้รักงานที่ทำ
2. เมื่อพบทางตันให้ถามตัวเอง 3 ป. เปลี่ยนเขา เปลี่ยนเราหรือเปลี่ยนแปลง
3. หัวหน้าควรเป็นคนแรกที่รู้เรื่องการเปลี่ยนแปลง
4. อย่าพูดหากยังไม่แน่ใจ
5. อย่ากลัวเสียหน้า แต่จงหาทางแก้ไข
6. วางแผนและให้เกียรติองค์กรเสมอ

การลาออกจากงาน
1. อย่าหายไปเฉยๆ จากองค์กร
2. ควรเข้าไปพูดกับหัวหน้าก่อนส่งจดหมายลาออก
3. เขียนจดหมายลาออกอย่างเป็นทางการ
4. บอกเหตุผลในการลาออก
5. แสดงความรับผิดชอบในงานจนถึงวันสุดท้ายของการทำงาน

วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

เด็กเอ๋ย เด็กน้อย...

เด็กเอ๋ยเด็กน้อย
ความรู้เรายังด้อยเร่งศีกษา
เมื่อเติบใหญ่เราจะได้มีวิชา
เป็นเครื่องหาเลี้ยงชีพสำหรับตน
ได้ประโยชน์หลายสถานทั้งการเรียน
จงพากเพียรไปเถิดจะเกิดผล
ถึงลำบากตรากตรำก็จำทน
เกิดเป็นคนควรหมั่นขยันเอย ฯ

โกท่องบทดอกสร้อยสุภาษิตนี้ ตั้งกะสมัยเรียนโรงเรียนอนุบาลที่จังหวัดยะลา
ประมาณปี 2510 โน่นแน่ะ กี่ปีแล้วก็ไม่รู้ อิอิ บวกลบเลขกันเองแล้วกันนะจ๊ะ
มีบทอื่นๆ อีกหลายบท เข้าไปดูกันได้นะครับ จะได้เอาไปฝากลูกๆหลานๆได้ท่องกัน
คนโคราชเค้ารวบรวมเอาไว้จ้ะ ขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสอันงดงามนี้ด้วยนะขอรับ
http://www.koratinfo.com/doksroi/index.html

โกนึกถึงกลอนดอกสร้อยบทนี้ขึ้นมา เพราะช่วงนี้มีน้องๆ หลายคนกำลังอยู่ในห้วงทุกข์
คนนั้นก็ทุกข์เรื่องนี้ คนนี้ก็ทุกข์อีกเรื่องนั้น แต่ที่เหมือนกันก็คือเป็นทุกข์ที่เกิดจากหัวหน้างาน
เป็นบรรดาน้องที่ทำงานเกี่ยวข้องกับงานการบริหารงานบุคคล เช่นเดียวกับโกนี่แหละ
อาจบางที มันจะเป็นความผิดของพวกเราเองตั้งแต่แรกรึเปล่า ที่เลือกมาทำงานด้านนี้
บางคนอาจจะไม่ได้เลือกเองด้วยซ้ำไป แบบว่าโดนบังคับให้มาทำก็คงมี
เคยได้ยินเรื่องคนโดดลงไปช่วยคนตกน้ำมั้ยครับ ขึ้นมาได้แล้วพวกถามว่า "ใครถีบกูลงไปวะ ?"
แบบเดียวกันนี้แหละครับ

การทำงาน เป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบแบบหนึ่งของชีวิตครับ
มันบอกว่าเราโตแล้วก็ได้ เพราะเรากำลังหาเลี้ยงตัวเอง และอาจต้องหาเลี้ยงคนอื่นด้วย
ทุกคนจึงต้องทำงาน นอกเสียจากว่า จะเกิดมาบนกองหุ้นโทรคมนาคม อิอิ

ชีวิตการทำงานเป็นอะไรที่เราต้องเรียนรู้นะครับ
ไม่มีใครรู้หรอกว่าต้องทำอะไรบ้าง จนกว่าจะได้เข้าไปสัมผัสกับเนื้องานจริงๆ
ไอ้ที่เรียนมาตั้งหลายๆปีน่ะ เอาเข้าจริงก็ใช้ได้บ้างไม่ได้บ้างซะงั้น
มันต้องมาเรียนรู้จากของจริงกันอีกหลายอย่าง หลายเรื่องครับ และหลายยก
เข้าไปเรียนปีแรก เราก็เป็นน้องใหม่ในโรงเรียน หรือในมหา'ลัย
เข้ามาทำงานวันแรก เราก็ต้องเป็นน้องใหม่เหมือนกัน และเป็นไปเรื่อยๆ จนกว่่าจะมีคนมาแทนที่
มีหลายอย่างที่ชีวิตการทำงานต้องเผชิญกับมัน รวมถึงเพื่อนร่วมงานและ แอ่นแอ้นนน... "หัวหน้างาน"
ใครที่เข้าไปทำงานใหม่ๆ แล้วมีเพื่อนร่วมงานที่ดี มีหัวหน้างานที่ดี โอยยย.. พระเจ้าจอร์จ
ชีวิตช่างสดชื่นเหมือนยืนอยู่บนเนินเขา โดยไม่ต้องถูสบู่ลักส์
มีเพื่อนร่วมงานดี หัวหน้างานไม่ดี ชีวีก็ยังพอทำเนา
แต่ถ้าเพื่อนร่วมงานก็ไม่ดี ซ้ำร้ายหัวหน้างานก็งี่เง่า พระเจ้าช่วยลูกด้วย...
ชีวิตวัยรุ่นอย่างเราคงอับเฉาสิ้นดี..
หัวหน้างานไม่ดีนี่แหละครับ ต้นเรื่องที่ต้องเอามาเขียนกัน เจอแบบนี้แล้วเราควรจะทำอย่างไร

โกอยากบอกว่า เมื่อเจอหัวหน้างานแบบที่เราคิดว่าไม่ดี หัวหน้างี่เง่า ฯลฯ
ลองสงบสติอารมณ์ตัวเองลง แบบตั้งสติก่อนสตาร์ทน่ะครับ คิดซักสองตลบ สามก็ได้โกไม่ว่าหรอก
"เอาไงดีวะ" คิดเองไม่ออก ลองปรึกษาผู้ใหญ่ที่เรานับถือดูก่อนก็ได้
อย่าเพิ่งไปตั้งท่าจะรบกับเค้าครับ เค้าไม่ได้คิดแบบเดียวกับเรามันของแน่อยู่แล้ว
แต่ตอนนั้น ใครผิดใครถูกยังไม่รู้ เราเป็นเด็ก ไปออกอาการท้ารบกับหัวหน้างาน ยังไงเราก็ผิดครับ
ถึงไม่ได้ผิด แต่หัวหน้าก็เริ่มหมั่นไส้ขึ้นมาบ้างแหละน่า มันดีอยู่หรือที่หัวหน้าจะรู้สึกกับเราแบบนั้น

โกพยายามพร่ำสอนลูกน้องอยู่ทุกบ่อยว่า "อย่าไปทะเลาะกับลูกค้านะ"
ลูกค้าผิด เราถูก พอลูกค้ามาฟ้องหัวหน้า เราก็ผิด
เราผิด ลูกค้าถูก ลูกค้ามาฟ้องหัวหน้า เรายิ่งผิดใหญ่โตมโหระทึก
อย่าเลยครับ อย่าไปทะเลาะกับหัวหน้า ค่อยๆหาหนทางไป เดี๋ยวก็เจอ

อย่ามาเถียงนะครับว่า "ทำไม ลูกน้องมันจะมีความคิดดีๆบ้างไม่ได้เลยเหรอ?"
ได้ครับ แต่มันจะต้องมีวิธีนำเสนอที่ถูกต้อง ไม่ใช่เราไปทำเองซะทั้งหมด
หัวหน้าแบบนี้เค้าค่อนข้างจะเชื่อมั่นตัวเองน่ะครับ สูง ถึงสูงมาก จนเอื้อมไม่ถึง

ทำงานฝ่ายบุคคล ก็ต้องรู้จักศึกษาคนนะครับ
เริ่มต้นศึกษาหัวหน้างานของตัวเองก่อนเลยครับ ว่าเค้าเป้นคนแบบไหน ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร
ไม่ใช่เพื่อจะได้เอาใจเค้าถูก
แต่เพื่อจะได้รู้ว่า จะรับมือกับเค้ายังไงต่างหากครับ.